เทคโนโลยี OFDM

16/01/2555 11:51:24
1,788

เทคโนโลยี OFDMA (Orthogonal Frequency Division Multiple Access) คือเทคโนโลยีใหม่ด้านความถี่คลื่นวิทยุที่นำเข้ามาใช้กับเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น LTE โดย LTE ได้เลือกใช้เทคโนโลยี OFDMA สำหรับการทำงานทางด้านดาวน์ลิงก์เท่านั้น

 

OFDMA มาจากเทคโนโลยีเดิมคือ OFDM ที่มีพื้นฐานของ FDM ซึ่งแบ่งสัญญาณความถี่ออกจากกันเพื่อให้แต่ละช่องสัญญาณไม่มีการรบกวนซึ่งกัน และทำการรับส่งข้อมูลกันได้อย่างราบรื่น แต่การที่จะทำให้มันไม่รบกวนกันนั้นไม่ได้ใช้วิธีการใช้ Guard Band เพื่อแยกแต่ละความถี่ออกจากกัน ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองความถี่โดยใช่เหตุ แต่จะใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า การทำให้มันเป็นอิสระต่อกันหรือ Orthogonal

ความหมายของ OFDM

OFDM ย่อมาจาก Orthogonal Frequency Division Multiplex เป็นรูปแบบของ MCM สมัยใหม่ที่มีการเพิ่มความหนาแน่นของสัญญาณพาหะย่อยและการซ้อนทับสัญญาณพาหะ ที่อยู่ติดกัน ซึ่งเป็นเทคนิคการมอดูเลชั่นแบบหลายคลื่นพาหะ (Multiple Carrier Modulation) และเป็นรูปแบบของการสื่อสารแบบขนาน แตกต่างจากมาตรฐาน Spread Spectrum ทั่วไปที่ใช้แถบความถี่เดียวสำหรับรับส่งข้อมูลช่องเดียว

OFDM เป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสในชั้น Physical Layer สำหรับถ่ายทอด สัญญาณผ่านทางคลื่นวิทยุ ซึ่งกระบวนการนี้จะเป็นการแบ่งสัญญาณ ความถี่ออกเป็นหลาย ๆ เซ็กเมนต์ และในแต่ละเซ็กเมนต์จะมีความถี่ เฉพาะตัวด้วยรหัสที่ต่างกัน ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับความจุได้มากกว่า คลื่นวิทยุในความถี่

ความตั้งฉากซึ่งกันและกัน ใน OFDM

ความตั้งฉากซึ่งกันและกัน (Orthogonality) คือ “การเกี่ยวข้องกันเป็นมุมฉากหรือมีส่วนประกอบเป็นมุมฉาก” ความตั้งฉากซึ่งกันและกันมีความสัมพันธ์กันของเวกเตอร์ 2 เส้นในช่องว่างอาจจะตัดกันเป็นมุมฉากรูปเรขาคณิตก็ได้ ดังนั้นสัญญาณที่ตั้งฉากซึ่งกันและกันหมายความว่าสถานะของสัญญาณเป็นอิสระ จากกัน ตัวอย่างเช่น การมอดูเลตสัญญาณทางความถี่ (FM) และทางขนาด (AM) บนสัญญาณพาหะเดียวกัน (ในระบบ FM สเตอริโอ) สามารถแยกสัญญาณทั้งสองออกจากกัน โดยปราศจากการรบกวนซึ่งกันและกัน ซึ่งเราสามารถเรียกสัญญาณทั้งสองนี้ว่า “ความตั้งฉากซึ่งกันและกัน” สมมุติว่าในระบบสื่อสารใช้การมอดูเลตแบบเลื่อนความถี่ (FSK) โดยสัญญาณไบนารี่ กำหนดในบิต “ 0” แทนที่ด้วยความถี่หนึ่งที่เลือนออกไป สัญญาณการมอดูเลตนี้สามารถแยกออกจากกันด้วยวงจร กรองความถี่ 2 ชุด ทีสามารถปรับเลือกความถี่ทั้งสองได้ วงจรกรองความถี่สำหรับบิต “ 1” จะไม่ตอบสนองกับสัญญาณบิต “ 0” และในทำนองเดียวกันในกรณีของวงจรกรองความถี่สำหรับบิต “ 0” เราเรียกวงจรเมดูเลตแบบเลือนความถี่ว่า การจัดการสัญญาณไบนารี่ให้ตั้งฉากซึ่งกันและกัน ใน OFDM ความตั้งฉากซึ่งกันและกันเป็นการนำเอาสัญญาณพัลล์มาทำเป็นสัญญาณพาหะ ซึ่งทำให้สเปคตรัมของสัญญาณพาหะแต่ละตัวมีค่าสัญญาเป็นศูนย์ที่กลางแถบความ ถี่ของแต่ละสัญญาณพาหะในระบบ ทั้งนี้ทำให้แต่ละสัญญาณพาหะย่อยสามารถแยกออกจากลุ่มโดยปราศจากการสอดแทรก หรือรบกวนจากสัญญาณพาหะย่อยอื่นๆ ดังนั้นสัญญาณพาหะย่อยสามารถจัดวางไว้ใกล้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในทาง ทฤษฎี

หลักการทำงานของระบบ OFDM

โดยพื้นฐานแล้ว OFDM เป็นเทคนิคการมัลติเพล็กซ์โดยการแบ่งความถี่ เมื่อช่องความถี่ถูกแบ่งออกเป็นความถี่ขนาดเล็กๆ N ช่องแต่ละช่องมีขนาดเท่ากับขนาดของสัญลักษณ์ (bit rate) ดิจิตอล ซึ่งทำให้สัญญาณพาหะย่อยเหล่านี้มีความตั้งฉากซึ่งกันละกัน ทางด้านส่งสัญญาณดิจิตอลความเร็วสูงที่ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มข้อมูลที่ความ เร็วต่ำลงจำนวนสิบหรือร้อยกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มข้อมูลย่อยทีมีความเร็วต่ำกว่า จะถูกนำไปมอดูเลตกับสัญญาณพาหะย่อยทั้งหมดส่งขนาดกันออกไป รูปแบบในการมอดูเลตสัญญาณพาหะย่อยที่นิยมทั่วไปได้แก่ QAM, 16QAM หรือ 64QAM เป็นต้น ใน OFDM กลุ่มของข้อมูลจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปขนานกัน โดยการมอดูเลตกับสัญญาณพาหะย่อย ดังนั้นพวกมันจะกลายเป็นสัญญาณบนแกนความถี่ ในการที่จะแปลงกลับมาเป็นสัญลักษณ์บนแกนเวลาอีกครั้งนั้นทำได้โดย การใช้การแปลงกลับฟาสท์ฟูเรียร์ (FFT) โดยที่สัญลักษณ์ทางแกนเวลาเหล่านี้จะถูกมัลติเพล็กซ์เข้าด้วยกันเป็นอนุกรม ของสัญญาณ และสัญญาณที่ได้ทางเอาต์พุตของ IFFT จะถูกส่งบนความถี่ที่เหมาะสมในระบบสื่อสัญญาณ ในระบบ OFDM แต่ละสัญญาณพาหะย่อยจะถูกทำให้รูปร่างมีความตั้งฉากซึ่งกันละกันกับสัญญาณ พาหะย่อยอื่นๆด้วยวิธีการจัดการสัญญาณในลักษณะนี้ทำให้แม้แต่สัญญาณพาหะย่อย ที่อยู่ใกล้กันซ้อนทับกันก็ไม่ก่อให้เกิดการรบกวนซึ่งกันละกัน ดังนั้นในระบบนี้จึงไม่ต้องการแถบป้องกัน (Guard Band) ระหว่างแต่ละช่องสื่อสารย่อย ทำให้ช่องสื่อสารระหว่างแต่ละสัญญาณพาหะย่อยมีความแคบที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งในระบบนี้จะให้ประสิทธิภาพในการใช้แถบความถี่สูงสุด ความสัมพันธ์ระหว่างทุกสัญญาณพาหะย่อยในระบบ OFDM จะต้องถูกควบคุมอย่างระมัดระวังเพื่อรักษาให้มีลักษณะของความตั้งฉากซึ่งกัน และกันการแปลงกลับฟาสท์ฟูเรียร์เป็นการแปลงที่มีประสิทธิภาพสูงมากและเป็น วิธีการขั้นต้นอย่างง่ายๆ ที่สามารถทำให้เรามั่นใจได้ว่าสัญญาณพาหะที่สร้างขึ้นมามีความตั้งฉากซึ่งกัน และกัน หลังจากการมอดูเลตแบบ OFDM จะมีการสอดแทรกช่วงแถบป้องกันแคบๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวนระหว่างสัญลักษณ์ (Inter symbol Inter-ference : ISI) ที่เกิดจากสัญญาหลายเส้นทาง (multi-path) เราเรียกแถบป้องกันแคบๆ นี้ว่า การเสริมไซคลิก (Cyclic prefix)

การเสริมสร้างไซคลิก

เทคนิคนี้ใช้สำหรับแก้ไขสัญญาณที่คุณภาพลดลงในช่องสื่อสารอันเนื่องมาจาก สัญญาณมีการเคลื่อนที่หลายเส้นทางทำได้โดยการใช้ลำดับของแถบป้องกันที่เรา เรียกว่า การเสริมไซคลิกการเสริมไซคลิกเป็นการคัดลอกส่วนท้ายสุดของสัญลักษณ์OFDM ให้มีความยาวเท่ากับหรือมากกว่าค่าหน่วงเวลาสูงสุดของการกระจายช่วงเวลาอัน เนื่องมาจากสัญญาณหลายเส้นทาง การเสริมไซคลิกจะถูกคัดลอกลงในส่วนหน้าของสัญลักษณ์ OFDM เพื่อทำหน้าที่เป็นแถบป้องกันการทับซ้อนระหว่างสัญลักษณ์ที่จะเกิดขึ้น ระหว่างการทำการส่งดังแสดงในรูป การแปลงจากข้อมูลแบบขนานไปเป็นแบบอนุกรมจะเกิดขึ้นหลังจากคัดลอกไซคลิกลงใน ตัวส่ง

 

เวกเตอร์ใน OFDM

สายอากาศแบบไดเวอซิตี้ ( diversity ) ถูกนำมาทดสอบสำหรับแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากผลกระทบจากสัญญาณหลายเส้นทาง ซึ่งในระบบ OFDM จะใช้สปาเชียล ( spatial ) ไดเวอซิตี้ซึ่งเรียกว่า การมัลติเพล็กซ์โดยการแบ่งความถี่ที่สัญญาณพาหะตั้งฉากซึ่งกันและกันทาง เวคเตอร์ ( Vector OFDM : VOFDM ) VOFDM ใช้สายอากาศ สปาเชียลไดเวอซิตี้เพื่อนำประโยชน์ของการรับสัญญาณวิทยุหลายทิศทางที่มีเฟส และขนาดต่างกันมาเป็นข้อดี โดยการรวมสัญญาณเหล่านี้เข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการรับ สัญญาณแบบไม่เป็นเส้นตรง ( non-line-of-sight ) ที่เครื่องรับจะมีสายอากาศ 2 ชุด ทำหน้าที่รับสัญญาณจากเส้นทางที่ต่างกันและทำการรวมเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ อัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบการทำงานของบริษัทซิสโก้ ( Cisco ) ได้ออกแบบให้ VOFDM ทำการทดสอบและรวมแต่ละสัญญาณที่รับเข้ามาจากสายอากาศเข้าด้วยกัน จากนั้นวิเคราะห์สัญญาณพาหะย่อยทีละสัญญาณและใช้ข้อมูลที่ได้มาทำการสร้าง กลับเป็นแต่ละสัญญาณพาหะย่อยที่มีอัตราส่วนของสัญญาณรบกวนต่อสัญญาณสอดแทรก ที่สูงขึ้น ผลที่ตามมาคืออัตราการผิดพลาดของข้อมูลลดลง

การปรับแต่งการมอดูเลตใน OFDM

เพื่อให้การทำงานง่ายขึ้นต่อระบบ MCM ส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคการมอดูเลตแบบคงที่สำหรับทุกสัญญาณพาหะย่อย ในระบบที่ใช้เทคนิคนี้จะต้องเลือกประเภทของดิจิตอลมอดูเลต ( digital modulation ) สำหรับสัญญาณพาหะย่อยที่ได้ยอมรับอัตราการผิดพลาดของข้อมูล (Bit error rate) ได้ ภายใต้สภาวะของช่องสื่อสารที่แย่ที่สุดโดยทั่วไปจะเลือกใช้ BPSK หรือ QPSK ที่ 1 หรือ 2 บิต/วินาที/เฮิรตซ์ตามลำดับ ในการส่งข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังหลายๆ ปลายทางของระบบ OFDM อาจจะทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงเทคนิคทางมอดูเลตทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของ สัญญาณสามารถรับได้ที่ปลายทางประเภทของการมอดูเลตที่นิยมใช้ประกอบด้วย BPSK, QPSK, 8PSK, 16QAM, หรือ 64QAM เช่นถ้าสถานีปลายทาง สามารถรับสัญญาณที่มีอัตราส่วนของสัญญาณรบกวนต่ำควรเลือกใช้การมอดูเลตแบบ QPSKจะดีกว่าแบบอื่นๆเพราะว่าทำให้ประสิทธิภาพในการรับ-ส่งข้อมูลได้ดีอย่าง ไรก็ตามการเลือกใช้เทคนิคการมอดูเลตแต่ละแบบยังขึ้นอยู่กับสภาวะแถบความถี่ ที่ใช้ในการส่งอีกด้วย

เพื่อให้ระบบสามารถยอมรับอัตราการผิดพลาดของข้อมูล เราสามารถจะเลือกเทคนิคการมอดูเลตโดยอัตโนมัติตามขนาดของแถบความถี่ที่ใช้ การส่ง การปรับแต่ง (Adaptive) เทคนิคการมอดูเลตแบบนี้ทำให้คุณภาพการรับ-ส่งดีขึ้นไม่ว่าสภาวะของช่องสื่อ สารจะดีหรือไม่ดีก็ตาม สิ่งที่ตามมาคือการปรับแต่งการมอดูเลตทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานแถบ ความถี่ของระบบด้วย

การเลื่อนหายของความถี่ที่เลือก (Frequency selective fading)

ในระบบแถบกว้างเช่น OFDM ผลกระทบจากการเคลื่อนที่หลายเส้นทางของความถี่ที่ต่างกัน (หรือสัญญาณพาหะย่อยใน OFDM ) จะแตกต่างกัน เพื่อให้เราเข้าใจลักษณะการเลื่อนหายของความถี่ที่เลือก เรามาลองพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับความถี่ (สัญญาณพาหะย่อย) 2 ความถี่บนแถบความถี่ที่ใช้นำข่าวสารมาจาก เครื่องส่งไปยังเครื่องรับ ถ้าความถี่ทั้งสองอยู่ใกล้ซึ่งกันและกัน ดังนั้นความแตกต่างของเส้นทางที่เคลื่อนที่จะมีผลต่อกับความถี่ทั้งสองใกล้ เคียงกัน ทำให้การเปลี่ยนแปลงขนาดและเฟสใกล้เคียงกันมาก อย่างไรก็ตามถ้าความถี่ทั้งสองอยู่ห่างกันออกไปทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ความถี่ทั้งสองแย่ลงเพราะว่าการเลื่อนของเฟสตามแต่ละเส้นทางจะต่างกันมาก ซึ่งการลดลงของความสัมพันธ์ของความถี่จะขึ้นอยู่กับค่าหน่วงเวลาระหว่าง สัญญาณที่รับเข้ามาจากเส้นทางที่ต่างกันดังนั้นการที่หลายๆ ความถี่พาหะมาจับจองอยู่บนแถบความถี่เดียวกันมากจนทำให้ความเปลี่ยนแปลงแต่ ละความถี่เกิดความแตกต่างกันมากจะทำให้สัญญาณผิดพลาดได้ ดังนี้เพราะว่าขนาดและเฟสของความถี่ที่จะประกอบกันเป็นสัญญาณข่าวสารที่ เครื่องรับจะไม่เหมือนกันกับที่เป็นในเครื่องส่ง ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การเลื่อนหายของความถี่ที่เลือก (Frequency selective fading) ในสภาวะแวดล้อมที่คลื่นวิทยุมีการเดินทางหลายเส้นทาง การเลื่อนหายของความถี่ที่เลือกสามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างสูงต่อ กำลังงานที่เครื่องรับรับได้สำหรับช่องสื่อสารที่ไม่มีสัญญาณจากเส้นทางโดย ตรงจากการเครื่องส่ง การเลื่อนหายของคลื่นวิทยุเหล่านี้อาจสูงถึง 30dB ผลที่ตามมาคืออัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนลดลงและข้อมูลที่ได้รับมี ความผิดพลาดมากขึ้น แต่เนื่องจากข้อมูลถูกส่งไปกับสัญญาณพาหะย่อยที่แยกจากกันดังนั้นการแก้ไข ข้อผิดพลาดของข้อมูลในแต่ละสัญญาณพาหะย่อยอาจจะใช้วิธีการตรวจสอบและแก้ไข ข้อผิดพลาดที่ปลายทาง (Forward error detection and correction)

การป้องกันผลกระทบจากการเคลื่อนที่ของสัญญาณหลายเส้นทาง

การสอดแทรกระหว่างสัญลักษณ์ (Inter-symbol Interference:ISI) เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าคลื่นวิทยุจะเดินทางในอากาศด้วยอัตราความเร็ว 186000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 5.2 มิลลิวินาทีต่อไมล์ จากรูปที่ 7 จะเห็นว่ามีการสะท้อนของคลื่นวิทยุจากตึก,เนินเขา,หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆแต่ ล่ะเส้นทางที่คลื่นวิทยุเดินทางซึ่งมีระยะทางต่างกันสามารถเดินทางมาที่ เครื่องรับเวลาแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ทำให้สัญญาณที่รับเข้ามามีขนาดและเฟสต่างกันไปด้วยในระบบสื่อสัญญาณดิจิตอล รูปร่างของสัญญาณพัลส์(ดิจิตอล)จะถูกทำให้เป็นสัญลักษณ์ที่เหมาะสำหรับการ ส่งโดยทำการมอดูเลตกับสัญญาณพาหะ ซึ่งในระบบแถบกว้าง( broadband )จะมีการส่งบิตข้อมูล ที่ความเร็วสูงและบิตข้อมูลเหล่านี้จะถูกวางไว้ใกล้กันบนแกนเวลา ดังนั้นที่เครื่องรับสัญลักษณ์เหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับค่าหน่วงเวลาของ คลื่นวิทยุของสัญลักษณ์ถัดไปเข้ามาสอดแทรก การสอดแทรกประเภทนี้เรียกว่า การสอดแทรกระหว่างสัญลักษณ์ หรือ ISI ปัญหาของ ISI ทำให้การแยกสัญญาณข่าวสารดั้งเดิมออกมาเป็นไปได้ยากมาก ในระบบ OFDM จะทำการแบ่งสัญญาณข้อมูลความเร็วสูงหนึ่งชุดออกเป็นสิบหรือเป็นร้อยชุดที่มี ความเร็วต่ำลง จากนั้นทำการส่งข้อมูลชุดย่อยเหล่านี้ขนานกันออกไปโดยการใช้สัญญาณพาหะย่อย ดังนั้นอัตราความเร็วบิตของแต่ล่ะช่องย่อยจะต่ำลงซึ่งแต่ละสัญลักษณ์จะมี ช่วงเวลาในการตอบสนองที่นานขึ้นทั้งนี้ต้องการให้นานกว่าช่วงเวลาที่หน่วง จากสัญญาณหลายเส้นทางช่วงเวลาระหว่างสัญลักษณ์ที่นานขึ้นนี้เองทำให้ความ สัมพันธ์ของสัญลักษณ์กับเวลาที่หน่วงของคลื่นวิทยุที่สะท้อนเข้ามาที่ เครื่องรับจะไปอยู่ในช่วงเวลาป้องกันและจะไม่สามรถสอดแทรกเข้าสัญลักษณ์ถัด ไปที่รับเข้ามา ทำให้ OFDM ทนทานต่อปัญหาการสอดแทรกของสัญญาณหลายเส้นทาง

ตัวอย่างเช่น สมมุติให้ระบบมีอัตราการส่งข้อมูล R เท่ากับ 4Mb/s และสมมุติให้สภาพแวดล้อมมีการหน่วงเวลาสูงสุดเป็น 55ms เราจะได้ช่วงเวลาระหว่างสัญลักษณ์เป็น T=1/R=0.25ms สำหรับกรณีที่ส่งด้วยสัญญาณพาหะเดี่ยวสัญลักษณ์ที่เกิดจากการสะท้อนที่เข้า มาถึงภายในเวลา 55ms จะก่อให้เกิดการสอดแทรกกับสัญลักษณ์ที่ตามาอีก 220 ตัว (ISI ของ 55/0.25 = 220) ซึ่งการกำจัดการสอดแทรกดังกล่าวในเครื่องรับทำได้ยากมากที่นี้ลองให้ระบบมี สัญญาณพาหะย่อยจำนวน 1024 ตัว อัตราของข้อมูลที่เข้ามามอดูเลตสำหรับแต่ล่ะสัญญาณพาหะย่อยจะประมาณ 3.9 kb/s และช่วงเวลาระหว่างสัญลักษณ์จะเป็น T=1/R=256ms ดังนั้น

สัญลักษณ์ที่เกิดจากการสะท้อนที่เข้ามาถึงภายในเวลา 55 ms จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาแทรกสอดกับสัญลักษณ์ที่ตามมาอีก นี่เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไม MCM จึงได้รับความนิยมมากขึ้น

การใช้งานแถบความถี่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

จะเห็นได้ว่าในระบบ OFDM ความตั้งฉากซึ่งกันและกันระหว่างสัญญาณพาหะย่อยที่ใกล้กันยอมให้สัญญาณทั้ง สองทับซ้อนกันได้ ทำให้ตัดปัญหาของความต้องการแถบป้องกันไปได้ เว้นแค่แถบป้องกันที่ขอบของแถบความถี่ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นผลที่ได้คือ สามารถใช้งานแถบความถี่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ประมาณสองเท่าของการใช้สัญญาณพาหะเดี่ยว

บทสรุปของ OFDM

เนื่องจากการสื่อสารแบบไร้สายมักจะประสบกับปัญหาการจางหายของสัญญาณ ( Fading) อันมีสาเหตุมาจากการแพร่กระจายคลื่นสัญญาณเป็นหลายวิถี (Multipath propagation) นอกจากนั้นคลื่นหลายวิถียังทำให้เกิดการรบกวนแบบแทรกสอดระหว่างสัญลักษณ์ (Inter Symbol Interference) หรือ ISI ของสัญญาณข้อมูลขึ้นที่เครื่องรับอีกด้วย ซึ่งถ้าเป็นระบบการมอดูเลตและส่งสัญญาณแบบเก่าๆ (การส่งข้อมูลแบบอนุกรม) จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะเมื่อเป็นการสื่อสารที่มีอัตราการส่งข้อมูลสูงๆ แต่สำหรับ OFDM แล้วปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ง่ายกว่าและยังสามารถส่งข้อมูลที่มีอัตรา สูงๆ ได้อย่างสบาย เนื่องจากในระบบ OFDM ข้อมูลที่เป็นอนุกรมความเร็วสูงจะถูกแปลงให้เป็นข้อมูลแบบขนานความเร็วต่ำ เสียก่อน แล้วจึงส่งออกไปยังเครื่องรับพร้อมๆ กัน ซึ่งสามารถลดปัญหาเหล่านี้ลงได้ แล้วยัง สามารถใช้งานแถบความถี่ในระบบที่เคยใช้สัญญาณพาหะเดี่ยวได้อย่างเต็มประ สิทธิภาพ (spectral efficiency) ประมาณสองเท่าของการใช้สัญญาณพาหะเดี่ยวและสามารถป้องกันผลกระทบจากการ เคลื่อนที่ของสัญญาณหลายเส้นทาง (immunity to muti-path) และมีความไวต่ำต่อการเลื่อนหายไปของความถี่ที่เลือก (less sensitivity to frequency selective fading)

      ข้อดีของเทคโนโลยี OFDMA ก็คือประสิทธิภาพที่ดีทั้งเรื่องการใช้ความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาสัญญาณรบกวนได้ดี อีกทั้งยังสามารถที่จะเลือกใช้ความถี่ต่าง ๆ ได้ อย่างยืดหยุ่นมากกว่า แต่ก็จะมีข้อเสียก็คือค่า PAPR (Peak to Average Power Ratio) ที่สูง ซึ่งส่งผล ต่อการกินไฟที่มากกว่าปกติ มีประสิทธิภาพด้านพลังงานที่ลดลง และนั่นทาใหัเหมาะกับการใช้งาน ด้านดาวน์ลิงก์มากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ LTE ได้เลือกใช้นั่นเอ