การหลอมเหลว

16/01/2555 10:48:49
1,792

บริษัทโลตัส คริสตัล จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่7 ตุลาคม 2536 โรงงานตั้งอยู่เลขที่ 161 หมู่ที่ 6 ถนนนิคมพัฒนา ซอย 4 อำเภอนิคมพัฒนาจังหวัดระยอง ได้เปิดโรงงานผลิตเครื่องแก้ว คริสตัลขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายการค้า Lotus Crystal

บริษัทโลตัส คริสตัล จำกัด ได้เปิดโรงงานผลิตเครื่องแก้วคริสตัลขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยโดยเป็นคริสตัลแท้ 24% Pbo ทุกประเภทภายใต้เครื่องหมายการค้า Lotus Crystalซึ่งรับประกันในคุณภาพที่ทรงคุณค่าหรูหราไม่ซ้ำแบบใครเพราะทางบริษัทได้นำช่างผู้ชำนาญงาน ด้านการแกะสลักการเจียระไนตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศเยอรมันนีเข้ามาควบคุมฝึกสอนการผลิตให้แก่คนงานไทย

คุณค่าของแก้วคริสตัลแท้ จะสามารถสังเกตได้จาก ความใสของน้ำแก้วและความประณีตในการแกะสลักและการเจียระไนลวดลายบนเนื้อแก้ว สำหรับเครื่องแก้วเจียระไนของโลตัสนั้น มิได้เป็นเครื่องแก้วสำเร็จรูปที่ผลิตโดยเครื่องจักรแต่ได้ผ่านขั้นตอนการผลิตแบบดั้งเดิมทุกประการ ดังนั้นฟองอากาศเล็ก ๆ หรือความหนาบางไม่เท่ากันของขอบแก้วหรือก้นแก้ว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในส่วนของขั้นตอนการผลิตโดย Mouth Blower นั้น ผู้ชำนาญงานด้านเครื่องแก้วคริสตัลโดยทั่วไปมิได้ถือว่าเป็นตำหนิแต่กลับถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะของงาน Hand Made และความเป็น Originality

ในขณะที่ประเทศในยุโรปซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการผลิตแก้วเจียระไนได้เปลี่ยนกรรมวิธีการผลิตโดยใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน เนื่องจากไม่สามารถสู้ค่าแรงอันสูงของช่างผู้ชำนาญงานได้จะมีก็แต่เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังคงใช้กรรมวิธีการผลิตแบบเดิมแต่ผลผลิตเหล่านี้จะมีราคาสูงยิ่ง

เพื่อดำรงไว้และสืบสานต่อในศิลปะแขนงนี้ โลตัสคริสตัล ยังมีช่างผู้ชำนาญงานในการทำแก้วประดิษฐ์ (Art Glass) จากจินตนาการความสามารถเฉพาะของนายช่าง ผู้ประดิษฐ์ เป็นรูปต่างๆ กันอย่างสวยงามและงานช่างฝีมือให้คงอยู่ตลอดไป

เอกลักษณ์/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

เครื่องแก้วคริสตัล เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ใช้วิธีการผลิตจากแรงงานคน (Hand Made) ซึ่งมีการออกแบบลวดลายที่หลากหลายโดยในแต่ละชิ้นงานจะมีรูปแบบไม่ซ้ำกัน จากช่างที่มีความชำนาญงานในการทำแก้วประดิษฐ์(Art Glass) ผลิตภัณฑ์มีความประณีตมีการดำรงไว้และสืบสานซึ่งศิลปะอันงดงาม

การหลอมเหลว

ในโรงงานแก้วคริสตัลแห่งนี้ประกอบได้ด้วย เตาหลอม4 เตา การปฏิบัติงานพอสังเขปจะเริ่มจากการผสมวัตถุดิบต่างๆ (Mixing And Melting)และเริ่มผสมส่วนผสมต่างๆเหล่านี้ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.00 น. ของทุกวันเพื่อที่จะได้อุณหภูมิถึง 1400 องศาเซลเซียส จนกระทั้งถึงเวลา 8.00 น. ซึ่งเป็นเวลา เริ่มงานเช้าพอดี(ขบวนการดังกล่าวควบคุมด้วยเครื่อง Control และนายช่างผู้ชำนาญงานและมีประสบการณ์)

จุดประสงค์ในการหลอมแก้วก็เพื่อจะเปลี่ยนวัตถุดับที่เป็นของเหลว ที่มีเนื้อเท่ากันโดยตลอด (Homogeneous)ฉะนั้นขนาดของเม็ดวัตถุดิบจึงมีส่วนสำคัญและมีการควบคุมเกี่ยวกับขนาดด้วยเพราะถ้าขนาดเม็ดละเอียดมากเกินไปเล็กมากเกินไป จะมีสภาพเป็นฝุ่นก่อให้เกิดความลำบากในการผสมในการหลอมเหลวแก้วต้องปฏิบัติให้เกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์คือไม่ให้มีฟองอากาศหลงเหลืออยู่

1. การขึ้นรูป (Glass Forming)

การขึ้นรูปมีหลายวิธี เช่น การอัดเข้าแบบหรือที่เรียกว่าแก้วปั๊ม (Pressing) การเป่า (Blowing) การดึง (Drawing) การกลิ้ง (Rolling) เป็นต้น แต่ในการเป่าผลิตภัณฑ์แก้วคริสตัลนั้นต้องใช้ความประณีตสูงและมีความเป็นศิลปะด้วยนั้นส่วนใหญ่จะใช้วิธีการขึ้นรูปที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้คือ การเป่า (Bliwing)

- การขึ้นรูปโดยการเป่า (Blowing) อาจใช้แรงคนหรือเครื่องก็ได้แต่เครื่องแก้วที่ต้องการความประณีตในการขึ้นรูปนั้นมักใช้วิธีเป่าด้วยแรงคน(Hand made) โดยการนำแส้เป่าแก้วหรือที่เรียกว่า ไม้ซางเหล็ก (Blowpipe) มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาวใช้ม้วนน้ำแก้วที่กำลังหลอมในเตาแล้วเป่าลงไปในแบบ

- การอัดเข้าแบบ (Pressing) เป็นการขึ้นรูปของผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่เช่น ฐานวางพระพุทธรูป ฝาครอบพระ เป็นต้น

- การดึง (Drawing) เป็นการผลิตชิ้นงาน ที่มีรูปทรงอิสระเป็นแท่ง หรือเป็นเส้น เช่นตัวสัตว์ต่างๆ ขาแก้วไวน์ ชนิดต่างๆ หรืออาจเป็นเชิงเทียนเป็นต้น

- การขึ้นรูปด้วยการหล่อเข้าแบบ (Casting)วิธีนี้จะใช้กับงานที่ค่อนข้างจะทำยากหรือมีลวดลายละเอียดเป็นพิเศษโดยการเทน้ำแก้วเข้าไปในแบบ ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้กันน้อยมากในการทำ คริสตัล

2. การลดอุณหภูมิและการอบแก้ว (Forced convection annealing)

การอบผลิตภัณฑ์แก้วที่ได้ จะต้องนำมาผ่านการอบเพื่อควบคุมอุณหภูมิในการเย็นตัวของเนื้อแก้วให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอมิฉะนั้นอาจทำให้แก้วแตก เนื่องจากแรงเค้นในเนื้อแก้วที่เกิดขึ้น

อบยาวประมาณ 20 เมตร มีสายพานโลหะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์สามารถควบคุมความเร็วได้อุณหภูมิจากหัวเตาอบประมาณ 600 องศาเซลเซียส ทั้งน้าขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อแก้ว อุณหภูมิจะลดลงเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอจนเหลือประมาณ 60 องศาเซลเซียส ที่ท้ายเตา

3. การตรวจคุณสมบัติและการตรวจคุณภาพ (Inspection and Quality Control) ผลิตภัณฑ์แก้วที่ผ่านการอบแล้วต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติเช่น ขนาดความสูง ความกว้างของปาก ความหนาของตัวผลิตภัณฑ์ แรงอัด หรือแรงกระแทกหรือการทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหัน (Thermal Shock)

4. การตกแต่ง (Decorationg)

การตกแต่งในแก้วคริสตัลนั้น จะเป็นการเจียระไนโดยส่วนใหญ่หรืออาจจะมีการพ่นทรายบ้างแต่ไม่นิยมเพราะเอกลักษณ์ของคริสตัลนั้นคือ การเจียระไนลวดลายต่างๆ อย่างอ่อนช้อยประณีตเพื่อที่เวลาเหลี่ยมมุมของลวดลายนั้นกระทบกับไฟหรือแสงสว่างแล้วจะทำให้เห็นแสงประกายบนเนื้อแก้วยิ่งมีการเจียระไนลายที่มีความละเอียดมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้คริสตัลชิ้นนั้นมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วยการเจียระไนคริสตัลนั้นจะใช้เครื่องเจียระไนเป็นพวกกากเพชร (Carborundum)ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ที่มีความเร็วพอสมควรและมีน้ำเป็นตัวหล่อลื่นเป็นตัวทำให้เย็นและป้องกันแก้วแตกด้วยกากเพชรจะขูดผิวแก้วให้เป็นร่องลึกตามแรงกดให้เป็นรอยตามลวดลายนั้นๆ

5. การคัดแยกคุณภาพ (Impection)

การคัดแยกคุณภาพของแก้วนั้นทำได้โดยสังเกตจากขนาดของความสูงความกว้างและความคมของปากผลิตภัณฑ์แล้วยังสังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้

1. Stones คือ ลักษณะร่องรอยของผลึกในเนื้อแก้วซึ่งเกิดจากการหลอมน้ำแก้วบางส่วนไม่เป็นเนื้อเดียวกัน หรืออาจเกิดจากการตกผลึกของสารประกอบSilica หรืออาจเกิดจากองค์ประกอบบางจุดซึ่งเป็นสารทนไฟและอุณหภูมิที่หลอมไม่ถึงจุดหลอมตัว(Vitrified) ของเนื้อแก้วจึงเกิด Stomes แทรกในเนื้อแก้วทำให้ความแข็งแกร่งของเนื้อแก้วลดลงบริเวณที่มีStones จะแตกหักง่าย

2. Cords or Strial คือ ลักษณะที่เป็นร่องหรือรอยคลื่นในเนื้อแก้วเกิดจากความไม่เป็นเนื้อเดียวกันของเนื้อแก้วทำให้คุณสมบัติผิดจากบริเวณอื่นเพียงเล็กน้อยอาจแก้ไขได้ด้วยการนำไปเข้าตู้อบอีกครั้ง (Forced annealing)

3. Seeds and Blisters ทั้งสองคือ ฟองอากาศที่เกิดขึ้นในเนื้อแก้ว แต่ Seeds จะมีขนาดเล็กกว่า Blisterแต่ทั้ง Seedsand Blisters ทำให้แก้วเสียความสวยงาม

4. Chill marks รอยย่นบนผิวแก้วเกิดจากเนื้อแก้วสัมผัส Mold ไม่สม่ำเสมอจะทำให้ความสวยงานลดลงแต่ไม่เป็นผลเสียต่อเนื้อผลิตภัณฑ์มากนัก

5. Skear marks เป็นรอยตัดของแก้วแก้ไขได้โดยการขัดลบรอย

6. Fine มีลักษณะเป็นครีบเกิดจากรอยประกบของ Mould ไม่สนิท

7. Laps เป็นรอยพับบนผิวของผลิตภัณฑ์ เกิดจากการไหลตัวไม่สม่ำเสมอของน้ำแก้วขณะForm ตัวใน Mold แก้ได้โดยต้องตั้งเครื่องใหม่

8. Cracks คือ รอยแตกบนผิดผลิตภัณฑ์(Surface) อาจแตกเป็นรอยยาวหรือสั้นลึกหรือตื้นเกิดจากหลายสาเหตุคือใช้แรงดันมากไปใน ขณะอัดหรือเพราะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหันขณะทิ้งให้เย็น(Thermalshock) และอาจเกิดขณะขัด(Polishing) ก็ได้ตำหนิแบบนี้จะทำให้เนื้อผลิตภัณฑ์มีความแข็งแกร่งลดลง

6. การจัดเก็บ (Storage) เมื่อตรวจสอบคุณภาพเรียบร้อยแล้ว ก็จัดเก็บแยกประเภทของผลิตภัณฑ์ไว้ตามชั้นต่างๆให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อง่ายต่อการหยิบมาจำหน่าย